ทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกิจกรรมการออกแบบกิจกรรมพัฒนาด้านจิตใจ ด้านสมองและการเรียนรู้ และด้านทักษะอาชีพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของสถานพินิจฯ ในพื้นที่ จชต.

ทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกิจกรรมการออกแบบกิจกรรมพัฒนาด้านจิตใจ ด้านสมองและการเรียนรู้ และด้านทักษะอาชีพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของสถานพินิจฯ ในพื้นที่ จชต.
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. มอบหมายให้ นางกนกรัตน์ เกื้อกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (พม.) เป็นผู้แทน ศอ.บต. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการออกแบบกิจกรรมพัฒนาด้านจิตใจ ด้านสมองและการเรียนรู้ และด้านทักษะอาชีพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของสถานพินิจฯ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ผู้แทนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมจำนวนมาก ณ ห้องประชุมมหารานี โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อรับฟังการรายงานผลการศึกษาวิจัยรูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายหลังจากถูกปล่อยตัวออกจากสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแล้ว รวมถึงการให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มาร่วมกันคิดออกแบบกิจกรรมพัฒนาด้านจิตใจ ด้านสมองและการเรียนรู้ และด้านทักษะอาชีพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการควบคุมดูแลของสถานพินิจฯ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกด้วย
นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าว เป็นการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดกลับคืนสู่ชุมชนบริบท สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยมี ดร.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง นักวิจัยจาก สถาบันวิจัยสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะ ร่วมกันดำเนินการ เพื่อศึกษาความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนที่อยู่ในการดูแลของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ ซึ่งมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดในทุกฐานคดีที่อยู่ในการควบคุมดูแลของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา พัฒนาใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านจิตใจ ด้านสมองและการเรียนรู้ และด้านทักษะอาชีพในอนาคตภายหลังการกลับคืนสู่สังคม นับเป็นการสร้างโอกาสและทางออกของการแก้ปัญหาเด็กกระทำผิดซ้ำอย่างยั่งยืน
Cr. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปัตตานี


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar